วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

SWOT เครื่องประดับไทยส่งออกญี่ปุ่น

        SWOTเครื่องประดับไทย
จุดแข็ง Strengths
  1. ผลิตภัณฑ์สวยงามและประณีตเป็นเอกลักษณ์
  2. การผลิตมีประสิทธิภาพ
  3. ช่างไทยมีทักษะสูงและฝีมือประณีต สามารถผลิตเครื่องประดับที่มีคุณภาพระดับกลางถึงสูงได้ดี
  4. ต้นทุนค่าจ้างแรงานถูก
  5. มีราคาถูกกว่าสินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่น
  6. ช่างไทยมีชื่อเสียงในการปรับปรุงคุณภาพและเพิ่มมูลค่า
  7. เครื่องประดับของไทยมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในตลาดโลก
จุดอ่อน Weaknesses
  1.  พึ่งพาวัตถุดิบนำเข้าในสัดส่วนค่อนข้างสูง  เนื่องจากปัจจุบันปริมาณวัตถุดิบในประเทศลดลงมาก
  2. การพัฒนาผลิตภัณฑ์มีข้อจำกัด เนื่องจากไม่มีเทคโนโลยีเครื่องจักรของตนเอง
  3. ไม่มีตราสินค้าเป็นของตนเอง เนื่องจากเน้นผลิตตามคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเป็นหลัก
  4. อุตสาหกรรมสนับสนุนบางประเภท อาทิ อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนและตัวเรือนเครื่องประดับ และอุตสาหกรรมการผลิตแม่พิมพ์ต้นแบบ ไม่เพียงพอกับความต้องการในประเทศ
  5. เทคโนโลยีทางการผลิตต่ำ
  6. มีคู่แข่งขันจำนวนมากในตลาด
  7. การผลิตต้องใช้เวลาในการผลิตมาก
  8. ขาดการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
โอกาส Opportunities
1.       เศรษฐกิจญี่ปุ่นมีแนวโน้มฟื้นตัว ส่งผลดีต่อการส่งออกเครื่องประดับของไทย
2.       มีข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น ที่กำหนดให้สินค้าเครื่องประดับไทยได้รับการลดภาษีศุลกากรจากญี่ปุ่นเหลือร้อยละ 0
3.       ญี่ปุ่นมีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง
4.       ญี่ปุ่นมีอำนาจซื้อสูง
5.       มีการส่งเสริมจากภาครัฐของไทย
6.       ประชากรของญี่ปุ่นมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีสูง
7.       ญี่ปุ่นมีความต้องการสินค้าเครื่องประดับ
8.       ตลาดเครื่องประดับในญี่ปุ่นมีการเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ
9.       ญี่ปุ่นมีความมั่นคงทางการเมืองสูง
อุปสรรค Threats
1.       ราคาวัตถุดิบที่ค่อนข้างผันผวนและทรงตัวในระดับสูง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตเครื่องประดับทองปรับสูงขึ้น
2.       การแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงจากคู่แข่งสำคัญ
3.       ประเทศคู่แข่งขันมีการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว
4.       ไทยเสียเปรียบในเรื่องค่าเงิน ค่าเงินของญี่ปุ่นสูงกว่า
5.       ญี่ปุ่นเป็นประเทศชาตินิยม มีความเป็นชาตินิยมสูง
6.       มีกฎระเบียบและข้อกำหนดทางการค้ามาก
7.       การแทรกแซงของรัฐบาลญี่ปุ่น
8.       ประเทศไทยมีการเมืองไม่มั่นคง
9.       การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

อนาคตเครื่องประดับไทยในญี่ปุ่น

            ญี่ปุ่นนับเป็นประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจสูง กล่าวคือ เป็นประเทศที่มีอำนาจซื้อสูงสุดติดอันดับสองของโลก และเป็นประเทศที่ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปีค่อนข้างสูงเป็นอันดับสองของเอเชียรองจากสิงคโปร์ อีกทั้งประชากรส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 51 เป็นผู้หญิง ดังนั้นตลาดอัญมณีและเครื่องประดับในญี่ปุ่นจึงค่อนข้างสดใส
           ในญี่ปุ่นนั้นสินค้ากลุ่มนี้จะเป็นสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากจะมีราคาถูกกว่าเครื่องประดับที่ผลิตในประเทศเอง เพราะญี่ปุ่นจะต้องนำเข้าวัตถุดิบในการผลิต ทำให้สินค้าที่ผลิตเองนั้นมีราคาค่อนข้างสูง ญี่ปุ่นจึงเป็นตลาดนำเข้าเครื่องประดับเงิน และทองรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และอันดับแปดของโลกในการนำเข้าเครื่องประดับเทียม โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ก็คือ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อิตาลี จีน และไทย
           จากการสำรวจในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2551 ไทยสามารถส่งออกเครื่องประดับไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 36.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2550 จึงมีความเป็นไปได้สูงที่สินค้ากลุ่มนี้ในญี่ปุ่นจะมีความเติบโตขึ้นเรื่อยๆ การที่สินค้าจากไทยมีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเนื่องมาจากสินค้าไทยเข้าข่ายของดีราคาถูก เมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศอื่นๆ อีกทั้งการได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น ที่กำหนดให้สินค้าเครื่องประดับไทย เป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับการลดภาษีศุลกากรจากญี่ปุ่นเหลือร้อยละ 0 รวมทั้งการที่ญี่ปุ่นเปิดตลาดทำให้รู้ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก็น่าจะมีส่วนในการสนับสนุนการส่งออกให้เป็นไปในทางที่ดี
            แต่การส่งออกเครื่องประดับของไทยไปยังญี่ปุ่นก็ยังคงมีอุปสรรคอยู่บ้างในเรื่องของการที่ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากประเทศคู่แข่ง ที่มีความได้เปรียบทางด้านการตลาด รูปแบบ และเทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัย อย่างสหรัฐอเมริกา และยุโรป อีกทั้งผู้ผลิตสินค้าราคาถูกอย่างจีนและอินเดีย ที่มีการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้พร้อมสำหรับการแข่งขัน โดยจะต้องมีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ทั้งจะต้องมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น สื่อโฆษณาที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในญี่ปุ่นก็คือ นิตยสารแฟชั่นต่างๆ อย่างที่รู้กันว่าญี่ปุ่นเป็นเมืองแห่งแฟชั่นอีกแห่งหนึ่ง รวมทั้งกลุ่มลูกค้าที่เป็นวัยรุ่นและวัยทำงานก็มีพฤติกรรมชอบเลียนแบบ การโฆษณาผ่านนิตยสารแฟชั่นจึงเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้หากมีการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายได้ก็จะเป็นการดี ไม่ว่าจะเป็นการสั่งสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) และทางโทรศัพท์ ( M-Commerce ) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นก็จะเป็นผลดีกับผู้ประกอบการขนาดเล็กของไทยที่มีเงินทุนไม่มากนัก
             อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตลาดเครื่องประดับของไทยในญี่ปุ่นจะเริ่มมีการแข่งขันกันสูง แต่ด้วยฝีมือ และความคิดในการพัฒนาสินค้าของคนไทย รวมทั้งการรู้จักใช้เครื่องมือทางการตลาดที่เหมาะสม อีกทั้งความเข้าใจในความต้องการและพฤติกรรมในการบริโภคของสาวญี่ปุ่นอย่างแท้จริง อนาคตของเครื่องประดับไทยก็ยังไปได้ไกลในญี่ปุ่น

แหล่งที่มา http://ethaitrade.com/2008/export-watch/japan-watch/thai-jewelry-in-japan-market/

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ข้อมูลประเทศญี่ปุ่น

            การส่งออก/นำเข้าของญี่ปุ่น
กระทรวงการคลังญี่ปุ่นเปิดเผยว่ายอดการเกินส่งออกเดือน ม..เพิ่มขึ้นร้อยละ 40.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนแล้ว โดยส่งออกไปยังเอเซียและจีนเพิ่มขึ้น ร้อยละ 68.1 และ 79.9 ตามลำดับ การส่งออกชิ้นส่วน IC และรถยนต์เพิ่มขึ้น การส่งออกไปยังสหรัฐฯ ก็เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.2 เนื่อง จากรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์เพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่การเรียกคืนรถยนต์ของบริษัท โตโยต้าส่งผลกระทบต่อการส่งออกญี่ปุ่นอย่างมากต่อไป ขณะที่ยอดการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อนหน้า ซึ่งการเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน เนื่องจากการ นำเข้านํ้ามันดิบและชิ้นส่วนเพิ่มขึ้น แสดงถึงการกระเตื้องขึ้นของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องนำเข้าสินค้าขั้นกลางสำหรับ ใช้ในการผลิต
แหล่งที่มา http://www.depthai.go.th/DEP/DOC/53/53001439.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

                ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่าง ประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน               
  แหล่งที่มา http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_8307.html
ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
 การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูป ของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ใน ตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ   

แหล่งที่มา www1.webng.com/logisticseminar/.../International_Marketing.doc
 
     ความแตกต่างของการตลาดระหว่างปรเทศกับการค้าระหว่างประเทศ
การตลาดระหว่างปรเทศเป็นกระบวนการที่ทำเพื่อให้เกิดการซื้อขายโดยใช้การตลาด เป็นกระบวนการเพื่อสนองตอบความพึงพอใจของตลาด เป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนโดยการพัฒนาตลาดเพื่อให้ผู้ซื้อและผู้ขายมาพบกันและเกิดการซื้อขายในที่สุด
ขณะที่การค้าระหว่างประเทศนั้นมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนเกิดขึ้นแล้ว ใช้สินค้าและบริการในซื้อขาย ต้องเน้นคุณภาพของสินค้า มีการแลกเปลี่ยนสินค้าเนื่องจากมีความต้องการสินค้าในระดับที่แตกต่าง มีผู้ซื้อและผู้ขาย