ในญี่ปุ่นนั้นสินค้ากลุ่มนี้จะเป็นสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากจะมีราคาถูกกว่าเครื่องประดับที่ผลิตในประเทศเอง เพราะญี่ปุ่นจะต้องนำเข้าวัตถุดิบในการผลิต ทำให้สินค้าที่ผลิตเองนั้นมีราคาค่อนข้างสูง ญี่ปุ่นจึงเป็นตลาดนำเข้าเครื่องประดับเงิน และทองรายใหญ่เป็นอันดับสามของโลก และอันดับแปดของโลกในการนำเข้าเครื่องประดับเทียม โดยแหล่งนำเข้าที่สำคัญ ก็คือ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา อิตาลี จีน และไทย
จากการสำรวจในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2551 ไทยสามารถส่งออกเครื่องประดับไปยังญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 36.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปี 2550 จึงมีความเป็นไปได้สูงที่สินค้ากลุ่มนี้ในญี่ปุ่นจะมีความเติบโตขึ้นเรื่อยๆ การที่สินค้าจากไทยมีการส่งออกเพิ่มมากขึ้นเนื่องมาจากสินค้าไทยเข้าข่ายของดีราคาถูก เมื่อเทียบกับสินค้าจากประเทศอื่นๆ อีกทั้งการได้รับประโยชน์จากข้อตกลงการค้าเสรีไทย-ญี่ปุ่น ที่กำหนดให้สินค้าเครื่องประดับไทย เป็นหนึ่งในสินค้าที่ได้รับการลดภาษีศุลกากรจากญี่ปุ่นเหลือร้อยละ 0 รวมทั้งการที่ญี่ปุ่นเปิดตลาดทำให้รู้ความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ก็น่าจะมีส่วนในการสนับสนุนการส่งออกให้เป็นไปในทางที่ดี
แต่การส่งออกเครื่องประดับของไทยไปยังญี่ปุ่นก็ยังคงมีอุปสรรคอยู่บ้างในเรื่องของการที่ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากประเทศคู่แข่ง ที่มีความได้เปรียบทางด้านการตลาด รูปแบบ และเทคโนโลยีในการผลิตที่ทันสมัย อย่างสหรัฐอเมริกา และยุโรป อีกทั้งผู้ผลิตสินค้าราคาถูกอย่างจีนและอินเดีย ที่มีการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ดังนั้นผู้ประกอบการไทยจำเป็นจะต้องมีการพัฒนาศักยภาพของตัวเองให้พร้อมสำหรับการแข่งขัน โดยจะต้องมีการพัฒนารูปแบบใหม่ๆ ให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ทั้งจะต้องมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้มากขึ้น สื่อโฆษณาที่ดีที่สุดอย่างหนึ่งในญี่ปุ่นก็คือ นิตยสารแฟชั่นต่างๆ อย่างที่รู้กันว่าญี่ปุ่นเป็นเมืองแห่งแฟชั่นอีกแห่งหนึ่ง รวมทั้งกลุ่มลูกค้าที่เป็นวัยรุ่นและวัยทำงานก็มีพฤติกรรมชอบเลียนแบบ การโฆษณาผ่านนิตยสารแฟชั่นจึงเป็นสื่อที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้หากมีการขยายช่องทางการจัดจำหน่ายได้ก็จะเป็นการดี ไม่ว่าจะเป็นการสั่งสินค้าผ่านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce) และทางโทรศัพท์ ( M-Commerce ) ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลญี่ปุ่นก็จะเป็นผลดีกับผู้ประกอบการขนาดเล็กของไทยที่มีเงินทุนไม่มากนัก
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าตลาดเครื่องประดับของไทยในญี่ปุ่นจะเริ่มมีการแข่งขันกันสูง แต่ด้วยฝีมือ และความคิดในการพัฒนาสินค้าของคนไทย รวมทั้งการรู้จักใช้เครื่องมือทางการตลาดที่เหมาะสม อีกทั้งความเข้าใจในความต้องการและพฤติกรรมในการบริโภคของสาวญี่ปุ่นอย่างแท้จริง อนาคตของเครื่องประดับไทยก็ยังไปได้ไกลในญี่ปุ่น
แหล่งที่มา http://ethaitrade.com/2008/export-watch/japan-watch/thai-jewelry-in-japan-market/
เนื้อหาอ่านง่าย
ตอบลบสบายตา
เข้าใจง่ายค่ะ
ตอบลบNice.
ตอบลบDon't forget to ask your friends to read it.
And do the SWOT.
I like the background, but it kind of lacks Japanese identity.
ตอบลบ